ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
การจัดกลุ่มทฤษฎีตามแนวทางการจัดการศึกษาผู้นำ แ่บ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ คือการศึกษาคุณลักษณะของผู้นำ (Traits Appoach) การศึกษาพฤติกรรมของผู้นำ (behavirol Approach) การศึกษาผู้นำตามสถานการณ์ (Situational Approach) และการศึกษาอิทธิพลอำนาจของผู้นำ (Power-Influence Approach) อย่างไรก็ตามทั้ง 4 ทฤษฎีนี้ มีข้อถกเียงถึงจุดอ่อนของแต่ละแนวคิดทฤษฎีอยู่มาก โดยเฉพาะแนวทางการนำไปประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งสภาพแวดล้อมหรือบริบทของสังคมและของแต่ละองค์การต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก และยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงได้มีการพัฒนาแนวทางการศึกษาภาวะผู้นำในแนวทางใหม่ ที่มีการกล่าวถึงกันมากคือ "ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง" (Transformation Leadershipp)(รัตติกรณ์,2554:32)
สรุปความหมายของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามแนวคิดของนักวิชาการ ดังนี้
Bass (1985 อ้างถึงใน Schultz และ Schultz,1998:211) ให้ความหมายไว้ว่า ผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีพฤติกรรมที่มีความชัดเจนมากกว่า พวกเขาไม่ได้ถูกจำกัดโดยการรับรู้ของผู้ตาม ผู้นำต้องตั้งใจทำงานเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนรูปแบบเสนอของลูกน้อง และปรับปรุงข้อเสนอเหล่านั้นเสียใหม่มากกว่าที่จะเชื่อว่าต้องทำงานให้ตรงกับความคาดหวังของลูกน้อง
Mushinsky (1997:373) ให้ความหมายผู้นำการเปลี่ยนแปลงไว้ว่า เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและสมติฐานของสมชิกในองค์การและสรางความผูกพันในการเลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ขององค์การ ภาระผู้นำการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวข้องกับอิทธิของผู้นำที่มีต่อผู้ตาม แต่ผลกระทบของอิทธิพลนั้นเป็นการให้อำนาจแก่ผู้ตามให้กลับมาเป็นผู้นำ และเป็นที่เปลี่ยนแปลงหน่วยงานในกระบวนการการเปลี่ยนแปลงองค์การ ดังนั้นภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง จึงมองว่าเป็นกระบวนการร่วมและเกี่ยวข้องกับการดำเนินการของผู้นำในระดับต่างๆในหน่วยงานย่อยขององค์การ
Schultz และ Schultz (1998:211) ให้ความหมายภาวะผุ้นำการเปลี่ยนแปลง ไว้ว่า ความเป็นผู้นำซึ่งผู้นำไม่ได้ถูกจำกัดโดยการรับรู้ของผู้ตาม แต่มีอิสระในการกระทำ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนรูปแบบมุมมองของผู้ตาม
รัตติกรณ์ จงวิศาล (2544:32) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformation Leadership) หมายถึงระดับพฤติกรรมที่ผุ้นำแสดงให้เห็นในการจัดการหรือการทำงาน เป็นกระบวนการที่ผู้นำมีอิทธิพลต่อผู้ร่วมงาน โดยการเปลี่ยนสภาพหรือเปลี่ยนแปลงความพยายามของผู้ร่วมงานให้สูงขึ้นกว่าความพยายามที่คาดหวังพัฒนาความสามารถของผู้ร่วมงานไปสู่ระดับที่สูงขึ้นกว่าความพยายามที่คาดหวังพัฒนาความสามารถของผู้ร่วมงานไปสู่ระดับที่สูงขึ้นและมีศักยภาพมากขึ้น ทำให้เกิดการตระหนักรู้ในภารกิจและพัฒนาความสามารถของผู้ร่วมงานไปสู่ระดับที่สูงขึ้นและมีศักยภาพมากขึ้น ทำให้เกิดการตระหนักรู้ในภารกิจและวิสัยทัศน์ของกลุ่ม จูงใจให้ผู้ร่วมงานมองไกลเกินกว่าความสนใจของพวกเขาไปสู่ประโยชน์ของกลุ่มหรือสังคม
สรุปได้ว่าภาวะผู้การเปลี่ยนแปลง คือ พฤติกรรมของผู้นำที่สามารถเปลี่ยนทัศนคติและพัฒนาความสามารถการทำงานของผู้ตามโดยการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ตามทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่มอย่างเต็มศักยภาพและมีประสิทธิภาพ
กระบวนการที่มีผู้นำมีอิทธพลต่อผู้ร่วมงานหรือผู้ตามนี้จะกระทำผ่านองค์ประกอบพฤติกรรมเฉพาะ 4 ประการหรือที่เรียกว่า " 4I' s" (Four I's) คือ
1. การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (Idealized Influence: II) หมายถึงระดับพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงให้เห็นในการจัดการหรือการทำงานที่เป็นกระบวนการทำให้ผู้ร่วมงานหรือผู้ตามมีการยอมรับ เชื่อมั่นศรัทธา ภาคภูมิใจและไว้วางใจในความสามารถของผู้นำ
2. การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration Stimulation:IM) หมายถึง ระดับพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงให้เห็นในการจัดการหรือการทำงานที่เป็นกระบวนการ ทำให้ผู้ร่วมงานหรือผู้ตามมีแรงจูงใจหรือแรงบันดาลใจทำงานด้วยความเพลิดเพลิน ด้วยใจรัก ด้วยความรู้สึกที่เห็นคุณค่าของงาน
3. การกระตุ้นทางปัญญา (Intelectual Stimulation:IS) หมายถึง ระดับพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงให้เห็นในการจัดการหรือการทำงานที่เป็นกระบวนการ กระตุ้นผู้ร่วมงานหรือผู้ตามให้เห็นวิธีการหรือแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหา
4. การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (Individaulized Consideration: IC) ระดับพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงให้เห็นในการจัดการหรือการทำงานโดยการคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุุคคล มีการเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีการติดต่อแบบสองทางและเป็นรายบุคคล
จากความหมายและองค์ประกอบพฤติกรรมแสดงให้เ้เห็นว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อผู้ตามให้ผู้ตามเคารพนับถือศรัทธา ผู้นำมองเห็นความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถสร้างแรงบันดาลใจและจูงใจผู้ตามเกิดความคิด ความกระตือรือร้น การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หาวิธีการทำงานแนวทางใหม่ๆ และมุ่งมั่นทุมเทเพื่อให้งานเกิดผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ
ที่มา:ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ดร.รัตติกรณ์ จงวิศาล/ทฤษฎี-ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง แพรภัทร
วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554
การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่จะช่วยให้การดำเนินงานเป็นกลุ่มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือได้ทั้งผลงานที่ดี และได้ทั้งความรู้สึกและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมงาน
การเรียนรู้โดยใช้กระบวนนการกลุ่มสัมพันธ์ มีลักษณะดังนี้ คือ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ยึดกลุ่มเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ ยึดการค้นพบด้วยตนเอง เน้นกระบวนการควบคู่ไปกับผลงาน และเน้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมการเรียนรู้ของกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ มีหลักการและลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนกระทำ เป็นกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นกิจกรรมกลุ่มย่อย เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นกิจกรรมที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนของการวิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นกิจกรรมที่ประกอบไปด้วยการอภิปราย
การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ มีขั้นตอนและองค์ประกอบดังนี้
1. ขั้นนำ เป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน อาจเป็นการทบทวนความรู้สร้างบรรยากาศให้เหมาะสมต่อการเรียนรู้ที่จะตามมา
2. ขั้นกิจกรรม เป็นการให้ผู้เรียนลงมือทำกิจกรรมที่เตรียมไว้ เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการเรียนของตน และให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ที่จะสามารถนำมาวิเคราะห์อภิปรายให้เกิดการเรียนรู้
3. ขั้นอภิปราย เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดความรู้สึก และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
4. ขั้นสรุปและนำไปใช้ เป็นขั้นการรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลต่าง ๆ จนได้ข้อสรุปที่ชัดเจน และเป็นขั้นกระตุ้นให้ผู้เรียนนำเอาการเรียนรู้ไปปฏิบัติหรือไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ลักษณะกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. การสร้างความคุ้นเคย2. การทำงานเป็นทีม 3. การสังเกตพฤติกรรม 4. การแสดงบทบาท 5. การเล่นเกม 6. การฝึก-ฟัง-คิด-พูด
7. การบริหารงานกลุ่ม
การจัดการเรียนการสอนผู้สอนควรคำนึงถึงหลักการเรียนรู้ต่อไปนี้
1. ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างทั่วถึง
2. ผู้เรียนได้ข้อมูลและเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ในกลุ่ม
3. ผู้เรียนสามารถค้นพบคำตอบด้วยตนเอง
4. ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการควบคู่ไปกับผลงาน
5. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริง
ตัวอย่างกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ในโรงเรียน
1. กลุ่มทำตนเป็นแบบอย่าง
2. กลุ่มสร้างผู้นำ
3. กลุ่มพี่ช่วยน้อง
4. กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
5. กลุ่มอิสระ
อย่างไรก็ตาม การจัดกลุ่มให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ร่วมกันในลักษณะกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ได้พูดคุยปรึกษา ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และมีความเอื้ออาทรต่อกันและกัน มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่อบอุ่นและเป็นมิตร จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้พฤติกรรมของผู้อื่นเกิดความเข้าใจในตนเองและเข้าใจผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานเป็นทีม
ที่มา: กลุ่มสัมพันธ์ /การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์:นายศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์/
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่จะช่วยให้การดำเนินงานเป็นกลุ่มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือได้ทั้งผลงานที่ดี และได้ทั้งความรู้สึกและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมงาน
การเรียนรู้โดยใช้กระบวนนการกลุ่มสัมพันธ์ มีลักษณะดังนี้ คือ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ยึดกลุ่มเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ ยึดการค้นพบด้วยตนเอง เน้นกระบวนการควบคู่ไปกับผลงาน และเน้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมการเรียนรู้ของกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ มีหลักการและลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนกระทำ เป็นกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นกิจกรรมกลุ่มย่อย เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นกิจกรรมที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนของการวิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นกิจกรรมที่ประกอบไปด้วยการอภิปราย
การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ มีขั้นตอนและองค์ประกอบดังนี้
1. ขั้นนำ เป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน อาจเป็นการทบทวนความรู้สร้างบรรยากาศให้เหมาะสมต่อการเรียนรู้ที่จะตามมา
2. ขั้นกิจกรรม เป็นการให้ผู้เรียนลงมือทำกิจกรรมที่เตรียมไว้ เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการเรียนของตน และให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ที่จะสามารถนำมาวิเคราะห์อภิปรายให้เกิดการเรียนรู้
3. ขั้นอภิปราย เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดความรู้สึก และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
4. ขั้นสรุปและนำไปใช้ เป็นขั้นการรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลต่าง ๆ จนได้ข้อสรุปที่ชัดเจน และเป็นขั้นกระตุ้นให้ผู้เรียนนำเอาการเรียนรู้ไปปฏิบัติหรือไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ลักษณะกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. การสร้างความคุ้นเคย2. การทำงานเป็นทีม 3. การสังเกตพฤติกรรม 4. การแสดงบทบาท 5. การเล่นเกม 6. การฝึก-ฟัง-คิด-พูด
7. การบริหารงานกลุ่ม
การจัดการเรียนการสอนผู้สอนควรคำนึงถึงหลักการเรียนรู้ต่อไปนี้
1. ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างทั่วถึง
2. ผู้เรียนได้ข้อมูลและเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ในกลุ่ม
3. ผู้เรียนสามารถค้นพบคำตอบด้วยตนเอง
4. ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการควบคู่ไปกับผลงาน
5. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริง
ตัวอย่างกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ในโรงเรียน
1. กลุ่มทำตนเป็นแบบอย่าง
2. กลุ่มสร้างผู้นำ
3. กลุ่มพี่ช่วยน้อง
4. กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
5. กลุ่มอิสระ
อย่างไรก็ตาม การจัดกลุ่มให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ร่วมกันในลักษณะกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ได้พูดคุยปรึกษา ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และมีความเอื้ออาทรต่อกันและกัน มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่อบอุ่นและเป็นมิตร จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้พฤติกรรมของผู้อื่นเกิดความเข้าใจในตนเองและเข้าใจผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานเป็นทีม
ที่มา: กลุ่มสัมพันธ์ /การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์:นายศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์/
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กิจกรรมโรงเรียน
คณะครู/นักเรียนโรงเรียนทับโพธิ์พัฒนวิทย์ รับเสด็จทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ
เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2553 ณ โรงเรียนสิรินธรและวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
--------------------------------------------------------
กิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ ณ ค่ายลูกเสือชั่วคราวโรงเรียนทับโพธิ์พัฒนวิทย์
ระหว่างวันที่ 9-11 มีนาคม 2554
กิจกรรมภาคกลางวันผจญภัยและวิชาการ
ผจญภััยภาคกลางคืน
เดินทางไกล
---------ชฟ
ชุช=6ช ชุมนุมรอบกองไฟช
ช-------ขขขขข--
......................................................
การประกวดการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน (วงโปงลาง)
เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพะชนมพรรษา ๗ รอบ
ตามโครงการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและศิลปวัฒนธรรม
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔
โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักประชาสัมพันธ์เขต ๒ กรมประชาสัมพันธ์
วันที่ 17 มีนาคม 2554 ณ หอประชุมอำเภอรัตนบุรี
นายอำเภอรัตนบุรีกล่าวเปิด
กรรมการตัดสินการประกวด
โรงเรียนเข้าประกวด 3 โรงเรียน คือ ร.รบ้านกรวดวิทยา จังหวัดบุรีรัมย์ ร.ร. กันทรารมย์
จังหวัดศรีสะเกษ และโรงเรียนทับโพธิ์พัฒนวิทย์ (ที่ 1 โรงเรียนกันทรารมย์)
ค่ายอาสาพัฒนาชุมชนนิสิตจากจุฬาฯ คณะวิศวกรรมร่วมด้วยช่วยกันสร้างสะพานบ้านโพธิ์-ท่าหาดยาวโดยใช้สถานที่โรงเรียน
ทับโพธิ์พัฒนวิทย์เป็นที่พักและทำกิจกรรมต่างๆ
เข้าร่วมแสดงบู้ทโครงการ ทู บี นัมเบอร์ วัน ณ โรงเรียนสิรินธร |
เราชาวโรงเรียนทับโพธิ์พัฒนวิทย์
เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2553 ณ โรงเรียนสิรินธรและวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
--------------------------------------------------------
กิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ ณ ค่ายลูกเสือชั่วคราวโรงเรียนทับโพธิ์พัฒนวิทย์
ระหว่างวันที่ 9-11 มีนาคม 2554
กิจกรรมภาคกลางวันผจญภัยและวิชาการ
ผจญภััยภาคกลางคืน
เดินทางไกล
---------ชฟ
ชุช=6ช ชุมนุมรอบกองไฟช
ช-------ขขขขข--
......................................................
การประกวดการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน (วงโปงลาง)
เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพะชนมพรรษา ๗ รอบ
ตามโครงการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและศิลปวัฒนธรรม
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔
โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักประชาสัมพันธ์เขต ๒ กรมประชาสัมพันธ์
วันที่ 17 มีนาคม 2554 ณ หอประชุมอำเภอรัตนบุรี
ทำพิธีไหว้ครู
กรรมการตัดสินการประกวด
โรงเรียนเข้าประกวด 3 โรงเรียน คือ ร.รบ้านกรวดวิทยา จังหวัดบุรีรัมย์ ร.ร. กันทรารมย์
จังหวัดศรีสะเกษ และโรงเรียนทับโพธิ์พัฒนวิทย์ (ที่ 1 โรงเรียนกันทรารมย์)
ค่ายอาสาพัฒนาชุมชนนิสิตจากจุฬาฯ คณะวิศวกรรมร่วมด้วยช่วยกันสร้างสะพานบ้านโพธิ์-ท่าหาดยาวโดยใช้สถานที่โรงเรียน
ทับโพธิ์พัฒนวิทย์เป็นที่พักและทำกิจกรรมต่างๆ
วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)