วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership)

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
        การจัดกลุ่มทฤษฎีตามแนวทางการจัดการศึกษาผู้นำ  แ่บ่งเป็น  4  กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้  คือการศึกษาคุณลักษณะของผู้นำ (Traits  Appoach)  การศึกษาพฤติกรรมของผู้นำ (behavirol  Approach)  การศึกษาผู้นำตามสถานการณ์ (Situational  Approach) และการศึกษาอิทธิพลอำนาจของผู้นำ (Power-Influence  Approach) อย่างไรก็ตามทั้ง  4 ทฤษฎีนี้  มีข้อถกเียงถึงจุดอ่อนของแต่ละแนวคิดทฤษฎีอยู่มาก  โดยเฉพาะแนวทางการนำไปประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน  ซึ่งสภาพแวดล้อมหรือบริบทของสังคมและของแต่ละองค์การต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก  และยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  จึงได้มีการพัฒนาแนวทางการศึกษาภาวะผู้นำในแนวทางใหม่  ที่มีการกล่าวถึงกันมากคือ  "ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง" (Transformation  Leadershipp)(รัตติกรณ์,2554:32)
           สรุปความหมายของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามแนวคิดของนักวิชาการ  ดังนี้
            Bass (1985 อ้างถึงใน Schultz  และ  Schultz,1998:211) ให้ความหมายไว้ว่า  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีพฤติกรรมที่มีความชัดเจนมากกว่า  พวกเขาไม่ได้ถูกจำกัดโดยการรับรู้ของผู้ตาม  ผู้นำต้องตั้งใจทำงานเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนรูปแบบเสนอของลูกน้อง  และปรับปรุงข้อเสนอเหล่านั้นเสียใหม่มากกว่าที่จะเชื่อว่าต้องทำงานให้ตรงกับความคาดหวังของลูกน้อง
            Mushinsky (1997:373) ให้ความหมายผู้นำการเปลี่ยนแปลงไว้ว่า  เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและสมติฐานของสมชิกในองค์การและสรางความผูกพันในการเลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ขององค์การ  ภาระผู้นำการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวข้องกับอิทธิของผู้นำที่มีต่อผู้ตาม  แต่ผลกระทบของอิทธิพลนั้นเป็นการให้อำนาจแก่ผู้ตามให้กลับมาเป็นผู้นำ  และเป็นที่เปลี่ยนแปลงหน่วยงานในกระบวนการการเปลี่ยนแปลงองค์การ  ดังนั้นภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  จึงมองว่าเป็นกระบวนการร่วมและเกี่ยวข้องกับการดำเนินการของผู้นำในระดับต่างๆในหน่วยงานย่อยขององค์การ
            Schultz และ  Schultz (1998:211)  ให้ความหมายภาวะผุ้นำการเปลี่ยนแปลง  ไว้ว่า ความเป็นผู้นำซึ่งผู้นำไม่ได้ถูกจำกัดโดยการรับรู้ของผู้ตาม  แต่มีอิสระในการกระทำ  ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนรูปแบบมุมมองของผู้ตาม
             รัตติกรณ์  จงวิศาล (2544:32) ได้ให้ความหมายไว้ว่า  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformation  Leadership) หมายถึงระดับพฤติกรรมที่ผุ้นำแสดงให้เห็นในการจัดการหรือการทำงาน  เป็นกระบวนการที่ผู้นำมีอิทธิพลต่อผู้ร่วมงาน  โดยการเปลี่ยนสภาพหรือเปลี่ยนแปลงความพยายามของผู้ร่วมงานให้สูงขึ้นกว่าความพยายามที่คาดหวังพัฒนาความสามารถของผู้ร่วมงานไปสู่ระดับที่สูงขึ้นกว่าความพยายามที่คาดหวังพัฒนาความสามารถของผู้ร่วมงานไปสู่ระดับที่สูงขึ้นและมีศักยภาพมากขึ้น  ทำให้เกิดการตระหนักรู้ในภารกิจและพัฒนาความสามารถของผู้ร่วมงานไปสู่ระดับที่สูงขึ้นและมีศักยภาพมากขึ้น  ทำให้เกิดการตระหนักรู้ในภารกิจและวิสัยทัศน์ของกลุ่ม  จูงใจให้ผู้ร่วมงานมองไกลเกินกว่าความสนใจของพวกเขาไปสู่ประโยชน์ของกลุ่มหรือสังคม
             สรุปได้ว่าภาวะผู้การเปลี่ยนแปลง   คือ  พฤติกรรมของผู้นำที่สามารถเปลี่ยนทัศนคติและพัฒนาความสามารถการทำงานของผู้ตามโดยการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ตามทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่มอย่างเต็มศักยภาพและมีประสิทธิภาพ
             กระบวนการที่มีผู้นำมีอิทธพลต่อผู้ร่วมงานหรือผู้ตามนี้จะกระทำผ่านองค์ประกอบพฤติกรรมเฉพาะ  4  ประการหรือที่เรียกว่า  " 4I' s" (Four I's) คือ

             1. การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (Idealized Influence: II) หมายถึงระดับพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงให้เห็นในการจัดการหรือการทำงานที่เป็นกระบวนการทำให้ผู้ร่วมงานหรือผู้ตามมีการยอมรับ  เชื่อมั่นศรัทธา  ภาคภูมิใจและไว้วางใจในความสามารถของผู้นำ
             2. การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration  Stimulation:IM) หมายถึง ระดับพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงให้เห็นในการจัดการหรือการทำงานที่เป็นกระบวนการ  ทำให้ผู้ร่วมงานหรือผู้ตามมีแรงจูงใจหรือแรงบันดาลใจทำงานด้วยความเพลิดเพลิน  ด้วยใจรัก  ด้วยความรู้สึกที่เห็นคุณค่าของงาน
             3. การกระตุ้นทางปัญญา (Intelectual  Stimulation:IS) หมายถึง  ระดับพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงให้เห็นในการจัดการหรือการทำงานที่เป็นกระบวนการ  กระตุ้นผู้ร่วมงานหรือผู้ตามให้เห็นวิธีการหรือแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหา
             4. การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล  (Individaulized  Consideration: IC)  ระดับพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงให้เห็นในการจัดการหรือการทำงานโดยการคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุุคคล  มีการเอาใจเขามาใส่ใจเรา  มีการติดต่อแบบสองทางและเป็นรายบุคคล
               จากความหมายและองค์ประกอบพฤติกรรมแสดงให้เ้เห็นว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อผู้ตามให้ผู้ตามเคารพนับถือศรัทธา  ผู้นำมองเห็นความแตกต่างระหว่างบุคคล  สามารถสร้างแรงบันดาลใจและจูงใจผู้ตามเกิดความคิด  ความกระตือรือร้น  การคิดริเริ่มสร้างสรรค์  หาวิธีการทำงานแนวทางใหม่ๆ และมุ่งมั่นทุมเทเพื่อให้งานเกิดผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ
ที่มา:ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ดร.รัตติกรณ์  จงวิศาล/ทฤษฎี-ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  แพรภัทร